นโยบาย

  พัฒนาบุคลากรให้ เก่ง ดี มีความสุข

เป้าประสงค์

1.การพัฒนาคนให้เก่ง
2.การพัฒนาคนให้ดี
3.การพัฒนาคนให้มีความสุข

กระบวนการ

1.การพัฒนาคนให้เก่ง

ประเด็นที่จะพัฒนามีที่มาจากหลายทาง เช่น
1.1.อุบัติการณ์ความเสี่ยง บริบท High Risk, High Volume
1.2.นโยบายการพัฒนางาน/เพิ่มงานใหม่ แต่บุคลากรยังไม่มีความรู้เลย
1.3.การนิเทศทางคลินิกหน้างาน(real time) ของหัวหน้างาน
1.4.บุคลากรใหม่

การได้มาที่ต่างกันการพัฒนาก็ต่างกัน ถ้าจากอุบัติการณ์ความเสี่ยง การนิเทศทางคลินิกหน้างาน(real time) ของหัวหน้างาน ก็ต้องทบทวน(RCA)ดูถึงปัญหาของการเกิดแล้วพัฒนาตามนั้น เช่น ไม่รู้ก็ให้ความรู้แล้วหัวหน้างานติดตามดูว่ารู้หรือยัง(โดยการประเมินความรู้ตามมาตรฐานที่ควรมี หรือตามบริบทที่หน่วยงานกำหนดว่าต้องทำได้เท่านี้) หรือมีความรู้ แต่ขาดทักษะก็พัฒนาโดยเรียนรู้หน้างานมีหัวหน้าสอนงานพร้อมติดตามประเมินซ้ำหน้างานจากการปฏิบัติจริง ส่วนเจ้าหน้าที่ใหม่โดยการปฐมนิเทศในบางเรื่องเช่นสิ่งที่ควรรับรู้ ส่วนเรื่องที่ต้องทำได้ก็ใช้แบบสอนทำหน้างาน และถ้าเป็นงานนโยบายการพัฒนางาน/เพิ่มงานใหม่ แต่บุคลากรยังไม่มีความรู้เลยส่งเจ้าหน้าที่ไปดูงานยังหน่วยงานที่ทำได้ดีแล้ว
ผลลัพธ์ วัดจากความเสี่ยงที่ลดลงในเรื่องนั้นๆ  การดูแลผู้แลให้ปลอดภัยตามเกณฑ์(KPI)ที่กำหนดในโรคสำคัญ Stroke ACS Head Injury  เจ้าหน้าที่ได้รับการปฐมนิเทศ สอนงานทุกคนและประเมินซ้ำว่ารู้และทำได้ตามเกณฑ์

2.การพัฒนาคนให้ดี

ดูจากกระบวนการทำงานว่าซื่อตรงต่อหน้าที่ ถูกต้องตามจริยธรรมเชิงวิชาชีพ/อาชีพ หรือไม่ โปร่งใสตรวจสอบได้จริง
เช่น การให้ยาตรงเวลากับแผนการรักษา เซ็นชื่อตามจริงตรงเวลากับการ
บริการพยาบาล ซื่อตรงต่อกฎระเบียบตามหน่วยงานกำหนด มีวินัย ไม่เลือกปฏิบัติทุกคนมีสิทธิเสมอภาคกัน
ผลลัพธ์ วัดจากการร้องเรียนเรื่องทางวินัย คิวบริการ ไม่มี
ผลการนิเทศทางคลินิก/นิเทศหน้างานของหัวหน้างานนั้นๆ ไม่พบการเซ็นชื่อที่ไม่เป็นจริง ปฏิบัติงาน
แบบซื่อสัตย์เชิงจริยธรรมวิชาชีพ อาชีพแม้ไม่มีใครเห็นเมื่อเกิดข้อผิดผลาดกล้าแสดงตนโดยการรายงาน
ต่อหัวหน้างานหรือพบในอุบัติการณ์ความเสี่ยงของหน่วยงาน

3.การพัฒนาคนให้มีความสุข

บนปัจจัยพื้นฐานที่ควรได้รับตามความเหมาะสม เช่นผู้ที่ขึ้นเวรผลัดต้องมีบ้านพัก/ห้องพักเวรให้เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ(นอนไม่ตื่นตามได้ อุบัติเหตุรีบเร่งมารับเวร ชดเชยเวลาที่เสียในการเดินทางเมื่อต้องมีการต่อเวร เป็นขุมกำลังหลักขององค์กรเมื่อเกิดอุบัติเหตุหมู่นอกเวลา) งานที่มีภาระมากได้รับการดูแลให้ได้รับ OT ตามสมความเหมาะสม เมื่อป่วยก็ต้องได้รับการดูแลทั้งตัวเองและครอบครัว มีการคืนความสุขให้เจ้าหน้าที่ในเทศกาลสำคัญๆในช่วงวันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ งานกีฬาต่างๆ เปิดโอกาสให้พัฒนาความรู้ได้เมื่อร้องขอ 2 ครั้ง/ปี(ไม่นับการที่หน่วยงานให้ไป) มีการดูแลสุขภาพเจ้าหน้าที่ทุกปีพร้อมชุดจัดการ promotion เมื่อพบความผิดปกติ   ผลลัพธ์ดูจาก มีการตอบสนองขององค์กรในกิจกรรมพื้นฐานที่เจ้าหน้าที่ร้องขอผ่าน HRD เช่น ที่จอดรถ  บ้านพัก แหล่งน้ำดื่ม ห้องน้ำ ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ตามกิจกรรมที่จัดหาให้ตามความเหมาะสม